“ปัญญา” โดรนเกษตรที่ออกแบบและพัฒนาโดยคนไทยเพื่อคนไทย

หลายคนอาจคุ้นเคยกับโดรนเกษตรของบริษัทต่างชาติที่มีวางจำหน่ายอยู่ในบ้านเรา แต่ทราบหรือไม่ว่าตอนนี้บริษัทสัญชาติไทย SATI PLATFORM จำกัด ได้ทำการออกแบบและพัฒนาโดรนเกษตรชื่อว่า “ปัญญา” (Panya) ออกมาวางจำหน่ายและให้บริการแล้ว มาลองดูกันว่าโดรนปัญญามีคุณสมบัติและความน่าสนใจอย่างไรบ้าง

“ปัญญา” คือโดรนที่ออกแบบมาสำหรับเกษตรกรไทยอย่างแท้จริง โปรแกรมและเมนูการใช้งานในส่วนต่อผสานผู้ใช้งานเป็นภาษาไทยทั้งหมด มีระบบทำแผนที่เพื่อการบินอัตโนมัติ ตัวเครื่องติดตั้งถังใส่สารละลายขนาด 10 ลิตรและหัวฉีดพ่นสาร 6 หัว ที่ปรับอัตราการฉีดพ่นได้ตามต้องการ ติดตั้งกล้องบันทึกวีดีโอและภาพถ่ายที่มีความชัดระดับ HD ลักษณะและสมรรถภาพทุกอย่างสอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับโดรนของประเทศไทย โดยได้รับอนุญาตให้ผลิตจาก กสทช. และได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพโดยศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย แพ็คเกจโดรนปัญญาที่ประกอบไปด้วย ตัวโดรน แบตเตอรี่ และเครื่องชาร์จ สนนราคาอยู่ระหว่าง 200,000-300,000 บาท ซึ่งถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับโดรนจากบริษัทต่างชาติอื่นๆ ที่สำคัญคือโดรน ปัญญา ประกอบในประเทศไทยที่ศูนย์ประกอบของบริษัท SATI PLATFORM จำกัด ทำให้บริษัทสามารถให้บริการซ่อมบำรุงแก่ผู้ที่ใช้งานโดรนปัญญาได้อย่างครบวงจร หมดห่วงเรื่องความยุ่งยากในการซ่อม หรือหาอะไหล่ โดรนปัญญาได้รับการตอบรับดีเยี่ยมจากลูกค้าในประเทศโดยจำหน่ายไปแล้วมากกว่า 50 ลำ หลังเปิดตัวได้เพียงไม่กี่เดือน

ผมได้มีโอกาสไปดูการสาธิตบินโดรนปัญญาที่ศูนย์ของบริษัทจังหวัดปทุมธานี ต้องบอกว่าบินได้เยี่ยมไม่แตกต่างจากโดรนของบริษัทชื่อดังจากต่างประเทศที่วางจำหน่ายอยู่ในบ้านเราเลยครับ โดรนปัญญาถือเป็นตัวช่วยสำคัญของเกษตรกรไทยในช่วงเวลาที่ภาคการเกษตรบ้านเรากำลังขาดแคลนแรงงาน หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ทางเพจเฟสบุ๊ก “ปัญญาโดรนเกษตร”

เขียนโดย: ผศ. ดร. สิริวัฒน์ สาครวาสี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  https://mjusmartfarm.wordpress.com

___________________________________________

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโดรนเกษตรปัญญาได้ที่ …
.
📲เบอรโทรศัพท์ : 081-9517056
☎️ศูนย์บริการ : 062-0057999
💙Facebook : โดรนเกษตรปัญญา – โดรนพ่นยา โดรนไฮบริด
❤️Youtube : โดรนเกษตรปัญญา

‘SATI’ แจ้งเกิดโดรน ‘ปัญญา’ เจาะกลุ่มเกษตรกรรม

ถือว่าเป็นยุคทองของ “โดรน” หรืออากาศยานไร้คนขับ โดยเฉพาะการนำมาใช้ในภาคเกษตรกรรม
นั่นจึงเป็นที่มาที่ นายจตุพงศ์ โตวรรธกวณิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส.เอ.ที.ไอ แพลตฟอร์ม จำกัด หรือ SATI เห็นโอกาสทางธุรกิจ

ทำไม? และเพราะอะไร SATI ถึงมาบุกตลาดโดรน “ฐานเศรษฐกิจ” มีคำตอบ

เหตุผล

      ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมเป็นเกษตรดั้งเดิม และ กำลังก้าวสู่เกษตรยุคใหม่ด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยเข้ามาต่อยอดเพื่อลดต้นทุนนอกจากนี้เกษตรกรรม เป็นตลาดขนาดใหญ่ เนื่องจากประเทศ ไทยเป็นเกษตรกรรม ดังนั้น SATIจึงเข้ามาจับตลาดภาคการเกษตร

กลยุทธ์ทางธุรกิจ คือ ให้ ความรู้ ความเข้าใจ ในการนำโดรนมาใช้ ลดต้นทุนในการเกษตรใช้ยาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด

สร้างแบรนด์พันธุ์ไทย

       ใช่ครับ ตอนนี้ผลิตโดรนโลคัลแบรนด์ภายใต้ชื่อ “ปัญญา” เจาะกลุ่มเกษตรกรเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพัฒนาแอพ “เก้าไร่” ต่อยอดไปด้วยกันอีกด้วย
ส่วนแบรนด์ “DJI” และ “Eagle brother” ซึ่งเป็นสินค้าจากต่างประเทศ และ แต่งตั้งให้บริษัทเป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจโดยตรง สินค้าทั้ง 2 แบรนด์จับกลุ่มลูกค้าองค์กร

ปัจจุบันจำหน่ายโดรน ไปแล้วทั้งสิ้น 200 ลำ ปีที่แล้ว 100 ลำ เป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด ขณะที่แบรนด์ “ปัญญา” เป็นแบรนด์ที่บริษัทผลิตขึ้นมาราคาจะถูกกว่า 30% ตอนนี้จำหน่ายไปแล้ว 50 ลำ สิ้นปีหวังว่าจะได้ 100 ลำ

นอกจากนี้ SATI กำลังขยายแบรนด์ “ปัญญา” ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมแอพพลิเคชัน “เก้าไร่” เช่นกัน พร้อมเปิดหาพันธมิตรและร่วมทุน

โพสิชั่นนิ่ง

       เป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการครบวงจร เพราะ SATI มีสินค้าทั้งในและต่างประเทศ มีศูนย์บริการครบวงจร ศูนย์ซ่อม มีทีมนักบินให้บริการแบบ one stop service โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 ขยายไปยังโซนทางภาคใต้

มูลค่าการตลาด

        หลายหมื่นล้าน ซึ่ง SATI มีส่วนแบ่งตลาด 1 ใน 3 เป้าหมายของเรา คือการให้บริการด้านนวัตกรรมทั่วประเทศ และมีโดรนคอยให้บริการ อย่างน้อยตำบลละ 1 เครื่อง ซึ่งประเทศ ไทยมีตำบลทั้งหมด 7,255 ตำบล

คู่แข่ง

          เรามองว่าไม่มีนะครับ เพราะตลาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่มีบริษัทรายย่อยทั้งนั้น ตอนนี้เริ่มมีนายทุนมาขยายบ้าง แต่จุดสำคัญคือ เรื่องการพัฒนาบุคลากรในสายนี้น้อยมากความชำนาญในด้านนี้ ต้องอาศัยองค์ความรู้อย่างน้อย 2-3 ปี

พลิกปูม

           บริษัท เอส.เอ.ที.ไอ. แพลตฟอร์ม จำกัด หรือ SATI (สติ) เกิดการรวมตัวของคนหนุ่ม 3 คน คือ นายจตุพงศ์ โตวรรธกวณิชย์, ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ และ นายปรกชล พรมกังวาน ร่วมลงทุน และ จัดตั้งบริษัท เมื่อปี 2559 เพื่อนำเทคโนโลยีและงานนวัตกรรมทางด้านการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยในภาคการเกษตร เพื่อยกระดับการเกษตรในประเทศไทยให้มีมาตรฐาน และสร้างคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,523 วันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2562
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.thansettakij.com/content/tech/414669 

___________________________________________

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโดรนเกษตรปัญญาได้ที่ …
.
📲เบอรโทรศัพท์ : 081-9517056
☎️ศูนย์บริการ : 062-0057999
💙Facebook : โดรนเกษตรปัญญา – โดรนพ่นยา โดรนไฮบริด
❤️Youtube : โดรนเกษตรปัญญา